วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
เรื่อง ความสามารถทางการคิด

ความสามารถทางการคิด แบ่งออกเป็น
  - ลักษณะการคิด
 ทักษะการคิด
 กระบวนการคิด
  ทักษะการคิด
  - ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานที่สำคัญ
            
       ความสามารถในการคิดที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะย่อย 
ที่มีกระบวนการขั้นตอนการคิดไม่มากเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน 
แบ่งเป็น
      - ทักษะการสื่อความหมาย
      - ทักษะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ

ทักษะการคิดขั้นสูง
          ความสามารถในการคิดที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อน ต้องใช้ทักษะ
พื้นฐานหลายทักษะผสมผสานกันในการคิด

ลักษณะการคิด
            เป็นคุณสมบัติของการคิดที่นำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น 
เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

กระบวนการคิด
            เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยในการคิดนั้นประสบผลสำเร็จ
ตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ 
และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก



สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย


       สมรรถนะ (Competency) คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) 
ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
            3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
            4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
            5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
            3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
            4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
            5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
            3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
            4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
            5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
            3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า 
                     ติดกระดุม
            4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
            5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
     ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
     สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
     - ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”
     ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
     ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและ
             ประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
        เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู 
อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรม
บ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด 
ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
       (1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย      
       (2) พัฒนาการด้านสังคม
       (3) พัฒนาการด้านอารมณ์                       
       (4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
       (5) พัฒนาการด้านภาษา                          
       (6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
       (7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

     สรุปจากงานวิจัย
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้
                        สมรรถนะ          178 ข้อ อยู่ระดับ ง่าย
                        สมรรถนะ            52 ข้อ อยู่ระดับ ปานกลาง
                        สมรรถนะ          189 ข้อ อยู่ระดับ ยาก

       ดังนั้นข้อค้นพบเหล่านี้เป็นประเด็นที่บ้านและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันพัฒนา
และส่งเสริมเด็กของเราต่อไป บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ดูแลเด็กครูและอาจารย์ (สกศ., 2553)
    1. รักเด็กเป็นที่ตั้ง
    2. ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
    3. เข้าใจกระบวนการและการพัฒนาตามวัยของเด็กอย่างรอบด้าน
    4. เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
    5. มีจินตนาการและค้นหาหรือสร้างสื่อเรียนรู้ที่ทำให้เด็กสนใจ 
    6. สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิด ให้เด็กมีส่วนร่วม
    7. เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ไม่ดี ไม่เฆี่ยนเด็ก ไม่ก้าวร้าวทำร้ายทารุณและไม่ละเมิดทางกาย 
        ทางเพศ ทางวาจากับเด็ก
    8. ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
    9. เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเด็ก
  10. สังเกตเด็กและพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
  11. สัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกับพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้คนในชุมชน
  12. คำนึง “ประโยชน์สูงสุด” ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ


วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       ความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา สมารถนำไปสอนในอนาคตและในชีวิตประจำวัน
ของเราได้ และยังสามารถนำความรู้นี้ไปเป็นแนวทางในการศึกษาระดับต่อไปได้อีกด้วย



ประเมินตนเอง
     มีความพร้อม ความตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา 

ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันทุกคน ตรงต่อเวลา ไม่ก่อความวุ่นวายให้กับเพื่อนคนอื่น

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีความตรงต่อเวลา ใจดี เป็นกันเอง ให้คำแนะนำกับนักศึกษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น