วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.



ความรู้ที่ได้รับ  
การจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับ
เด็กปฐมวัย

ความหมายและความสำคัญ
         กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ 
เสียง-ทำนองเพลงเสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น 
มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ 
จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหว
1.       เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
2.       เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ ตีเครื่องดนตรี ที่ทำจากไม้ เหล็ก หนัง
3.       การตบมือ หรือดีดนิ้ว เป็นจังหวะ

ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
         มีความความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็ม
ไปด้วยการต่อสู้ ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ 
เพราะจะช่วยให้บุคคลได้ระบายออกทางความรู้สึก ผ่อนคลายความตึงเครียด ทางกาย-ใจ 
สามารถปรับตัวด้านสังคมได้ดีขึ้น ผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของเด็กๆ
     
   ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะช่วยให้เด็กเรียนรู้ 
         1. เทคนิคและวิธีการคิดค้น
         2. การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
         3. เรียนรู้และชอบ
         4. เข้าใจของประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
         5. พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
         6. ขีดจำกัดความสามารถ
   
   ขอบข่ายของการเคลื่อนไหวและจังหวะ 
         1. การเคลื่อนไหวพื้นฐาน (Basic Movement)
         2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ (Imitative)
         3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง (Motion Song)
         4. การเล่นเกมประกอบเพลง (Singing Games)
         5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Acting)
         6. การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย (Story Play) 

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใด
จุดหนึ่ง โดยร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย
        2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน 
การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ
         1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
         2. บริเวณและเนื้อที่
         3. ระดับของการเคลื่อนไหว
         4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
         5. การฝึกจังหวะ
                5.1  การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
                5.2  การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
                5.3 การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะเครื่องมือทุกชนิด
                5.4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว

เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
        1. การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
        2. การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
        3. การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
        4. การฝึกความจำ 
        5. การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ / ประกอบเพลง
        6. การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
        7. การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง / คำบรรยาย

จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  •          เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
  •          พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
  •          เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
  •          เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว                                            และความร่วมมือในกลุ่ม
  •          เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  •          พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้
  •          ฝึกระเบียบวินัย / เรียนรู้จังหวะ / ความกล้า / ความจำ
  •          เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน


บทบาทครูในการจัดกิจกรรม
  •          สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  •          ครูควรสร้างบรรยากาศสร้างให้เด็กมีความมั่นใจ
  •          ความกล้า
  •          ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป แต่ควรพูดในเชิงเสนอแนะ                                     เมื่อเด็กบางคนยังคิดไม่ออก
  •          จัดกิจกรรมวันละไม่น้อยกว่า 15-20 นาที
  •          ก่อนกิจกรรมเสร็จสิ้น ให้เด็กพักผ่อนนิ่งๆอย่างน้อย  2 นาที
  •          ในระยะแรกให้เด็กออกมาร่วมกิจกรรมกลุ่มทีละไม่เกิน 10 คน แต่ในระยะ                                    ต่อไปอาจเพิ่มจำนวนเด็กมากขึ้น
  •          ครูอาจใช้การเคลื่อนไหวและจังหวะสัมพันธ์กับทักษะทางคณิตศาสตร์                                       เช่น เมื่อสั่งให้“หยุด”เด็กต้องจับกลุ่มกัน 3 คน


แนวทางการประเมิน
         1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
         2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
         3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
         4. สังเกตการแสดงออก
         5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น.


ไม่มีบันทึกการเรื่อง เนื่องจากไม่สบาย



ประเมินตนเอง
     การเรียนยังตามเพื่อนไม่ทัน เนื่องจากไม่สบายเลยทำให้ขาดเรียน 

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบทุกคน 

ประเมินอาจารย์
     ครูมีการเตรียมเนื้อหาการสอนได้ดีมากและครบถ้วน ครูเป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคน




       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น