วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559


วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559
เรียนชดเชย วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559


ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้ครูให้ประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะเป็นของตัวเอง โดยการนำเศษวัสดุ
ที่เหลือใช้มาประดิษฐ์ และครูก็ยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาให้เพิ่มเติมด้วย



(นี่คือผลงานของฉัน น้องหมีพาเคาะ 555)


บรรยกาศในห้องเรียน




ผลงานของเพื่อน





บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:00 - 16:30 น.


การศึกษาดูงานนอกสถานที่
โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์


นายสุวรรณ ยะรังวงษ์

ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


วีดีทัศน์ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์



ห้องที่ศึกษา


กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
ของชั้นอนุบาล 1 / 1

การเคลื่อนไหวแบบที่ 1 คือ การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน





การเคลื่อนไหวแบบที่ 2 คือ การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม



การเคลื่อนไหวแบบที่ 3 คือ การเคลื่อนไหวแบบผ่อนคลาย



วีดีโอการเคลื่อนไหวและจังหวะ




บรยากาศในการอบรม



(เพื่อนๆโชว์ความสามารถพิเศษยามว่างค่ะ 555)



นักศึกษาชั้นปีที่ 2 




ความรู้ที่ได้รับ
     - ได้รู้จักกับการเดินทางจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
        ถึง โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์
     - ได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์
     - ได้รู้ถึงวิธีการสอนต่างๆของโรงเรียน
     - ได้รู้จักกับคุณครู และนักศึกษาฝึกสอน
     - ได้ประสบการณ์ใหม่ๆจากการอบรมและการสังเกตการสอน
     - ได้รู้ถึงความเป็นอยู่ในโรงเรียนแบบอบอุ่นและการอยู่แบบพี่แบบน้องกัน

ความประทับใจ
     1. ประทับใจอาจารย์วิทยากร อาจารย์มีความเป็นกันเอง ให้คำแนะนำ 
           และดูแลต้อนรับเป็นอย่างดี
     2. ประทับใจขนาดของโรงเรียน เพราะว่า เป็นโรงเรียนที่มีขนาดพอสมควร 
         ไม่ใหญ่และเล็กเกินไป เห็นแล้วรู้สึกถึงความอบอุ่นได้
     3. ประทับใจอาหาร เป็นโรงเรียนที่บริการอาหารได้ดี และมีคุณค่ามากค่ะ
         


ประเมินตนเอง
     ตรงต่อเวลา สนุกกับการเดินทาง การอบรม ตั้งใจศึกษาดูงาน 

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆน่ารัก มีความตั้งใจในการศึกษาดูงานกันทุกคน 

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์น่ารัก ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ และให้คำแนะนำข้อคิดดีๆ
ตลอดจนการอบรม





บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน


วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

เมื่อนักศึกษามาครบทุกคนแล้ว กิจกรรมแรกคือ การบริหารร่างกายของเรา 
แบบการเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ 

ต่อมา ครูขออาสาสมัคร 5 คน ออกไปทำกิจกรรมกับครู โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก






กิจกรรมที่ครูสอนในวันนี้คือ การเคลื่อนไหวและจังหวะ
หรือเรียกอีกอย่างว่า การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน

วิธีการสอน ดังนี้
1. เด็กๆคะ วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำกิจการเคลื่อนไหวและจังหวะกันนะคะ 
2. คุณครูจะให้สัญญาณกับเด็กๆนะคะ เด็กๆตั้งใจฟังนะคะ 
ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง (...ตึ๊ง....) ให้เด็กๆก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง (...ตึ๊ง.ตึ๊ง...) ให้เด็กๆก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะจังหวะรัวๆ (..ตึ๊งตึ๊งตึ๊งตึ๊งตึ๊งตึ๊งตึ๊ง..) ให้เด็กๆเคลื่อนที่อย่างเร็วๆ
ภายในบริเวณรอบๆห้อง
ถ้าคุณครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (..ตึ๊งตึ๊ง..) ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
3. เด็กๆ หาพื้นที่ของตัวเองเลยนะคะ ลองกางแขนดูสิ ว่าแขนเราชนกับแขนเพื่อนไหม
ถ้าชน เด็กๆเคลื่อนที่ใหม่ อย่าให้แขนชนกันนะค


หลังจากที่ครูสาธิตเสร็จแล้ว ครูก็ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน แล้วลองซ้อมการสอนกับเพื่อนๆ
ก่อนที่จะมาแสดงให้เพื่อนและครูดูทีละกลุ่ม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การเรียนการสอนในวันนี้ สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอน หรือใช้ในชีวิตประจำวันและใน
อนาคตได้ 


ประเมินตนเอง
     ตั้งใจทำกิจกรรมกับเพื่อนๆมาก กล้าแสดงออกมากขึ้น สนุกสนาน

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆสนุกสนานกันทุกคน ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ เฮฮา

ประเมินอาจารย์
     ครูน่ารัก หัวเราะตลอดจนหมดคาบเรียน ครูมีความเป็นกันเอง และตั้งใจสอนอย่างเต็มที่




บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
เรื่อง ความสามารถทางการคิด

ความสามารถทางการคิด แบ่งออกเป็น
  - ลักษณะการคิด
 ทักษะการคิด
 กระบวนการคิด
  ทักษะการคิด
  - ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานที่สำคัญ
            
       ความสามารถในการคิดที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะย่อย 
ที่มีกระบวนการขั้นตอนการคิดไม่มากเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน 
แบ่งเป็น
      - ทักษะการสื่อความหมาย
      - ทักษะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ

ทักษะการคิดขั้นสูง
          ความสามารถในการคิดที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อน ต้องใช้ทักษะ
พื้นฐานหลายทักษะผสมผสานกันในการคิด

ลักษณะการคิด
            เป็นคุณสมบัติของการคิดที่นำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น 
เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

กระบวนการคิด
            เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยในการคิดนั้นประสบผลสำเร็จ
ตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ 
และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก



สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย


       สมรรถนะ (Competency) คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) 
ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
            3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
            4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
            5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
            3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
            4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
            5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
            3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
            4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
            5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
            3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า 
                     ติดกระดุม
            4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
            5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
     ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
     สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
     - ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”
     ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
     ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและ
             ประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
        เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู 
อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรม
บ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด 
ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
       (1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย      
       (2) พัฒนาการด้านสังคม
       (3) พัฒนาการด้านอารมณ์                       
       (4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
       (5) พัฒนาการด้านภาษา                          
       (6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
       (7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

     สรุปจากงานวิจัย
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้
                        สมรรถนะ          178 ข้อ อยู่ระดับ ง่าย
                        สมรรถนะ            52 ข้อ อยู่ระดับ ปานกลาง
                        สมรรถนะ          189 ข้อ อยู่ระดับ ยาก

       ดังนั้นข้อค้นพบเหล่านี้เป็นประเด็นที่บ้านและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันพัฒนา
และส่งเสริมเด็กของเราต่อไป บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ดูแลเด็กครูและอาจารย์ (สกศ., 2553)
    1. รักเด็กเป็นที่ตั้ง
    2. ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
    3. เข้าใจกระบวนการและการพัฒนาตามวัยของเด็กอย่างรอบด้าน
    4. เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
    5. มีจินตนาการและค้นหาหรือสร้างสื่อเรียนรู้ที่ทำให้เด็กสนใจ 
    6. สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิด ให้เด็กมีส่วนร่วม
    7. เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ไม่ดี ไม่เฆี่ยนเด็ก ไม่ก้าวร้าวทำร้ายทารุณและไม่ละเมิดทางกาย 
        ทางเพศ ทางวาจากับเด็ก
    8. ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
    9. เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเด็ก
  10. สังเกตเด็กและพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
  11. สัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกับพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้คนในชุมชน
  12. คำนึง “ประโยชน์สูงสุด” ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ


วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น.


ไม่มีการเรียนการสอน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       ความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา สมารถนำไปสอนในอนาคตและในชีวิตประจำวัน
ของเราได้ และยังสามารถนำความรู้นี้ไปเป็นแนวทางในการศึกษาระดับต่อไปได้อีกด้วย



ประเมินตนเอง
     มีความพร้อม ความตั้งใจเรียน ตรงต่อเวลา 

ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนกันทุกคน ตรงต่อเวลา ไม่ก่อความวุ่นวายให้กับเพื่อนคนอื่น

ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีความตรงต่อเวลา ใจดี เป็นกันเอง ให้คำแนะนำกับนักศึกษา




บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 10:30 - 12:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การเคลื่อนไหวและจังหวะ

กลุ่มที่ 1
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของ อาร์โนลด์ กีเซลล์



      กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก 
เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความ
สามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถ
ของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของ
ระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ 
ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ 
การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

    กีเซลล์ ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
            1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึง
                การบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหว
                ทั้งหมด
             2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบ
                 การเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ 
             3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางการ
                 เคลื่อนไหว 
             4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม เป็นความสามารถในการปรับตัว
                 ของเด็กระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ 
                 แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง

การนำมาประยุกต์ใช้
             1.โครงสร้างของทฤษฎีกีเซลล์ ยึดพัฒนาการเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 
                 และประสบการณ์สำคัญ
             2. ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
             3.จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหว กิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
             4.จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลง ฟังนิทาน

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
             เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการ ภายในอินทรีย์ 
(Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก 
ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก

     ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิดประกอบด้วยลักษณะ 4 ข้อ คือ
             1.แรงจูงใจ (Motivation) 
             2.โครงสร้าง (Structure)
             3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence)
             4.การเสริมแรง (Reinforcement)

     บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้ คือ

             1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส

             2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจาก
                 การรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ

             3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ
                 สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ สิ่งที่พบเห็น



กลุ่มที่ 2
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านสติปัญญาของ ธอร์นไดค์



      กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็ก
มีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม
การใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์กันและเพื่อเป็นการฝึกทักษะ เกี่ยวกับ
ทางจิตใจเป็นความพร้อมทางด้านสมองและสติปัญญา

      กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆ 
ครั้งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กจะเกิดทักษะในแบบต่างๆ ซึ่งทำให้ระบบประสาท
และกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันดี

     กฎแห่งผล (Law of Effects) เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าผลของการกระทำนั้นเป็นไปใน
ทางบวกหรือทางที่ดี ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจเกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน
และความพอใจ

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
      
     เพียเจต์ อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุ
เท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจาก
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะ
สมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการ
เรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัส ต่อมาจึงเกิดความคิดทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ 
จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับเพียเจต์ถือว่า
การให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้



กลุ่มที่ 3
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของ กิลฟอร์ด




     กิลฟอร์ด กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลาย
ทิศทาง ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่น
ในการคิด และความสามารถในการแต่งเติมและให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลัก
เหตุผลเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็น
ความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า 
คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม (Originality) 
ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดละเอียดลออ
(Elaboration)

    กิลฟอร์ดได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
          1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิด
              ของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิด
              จากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น
           2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันใน
               เรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
                       2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถ
                             ในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
                       2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) 
                             เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมาก
                             ได้ภายในเวลาที่กำหนด
                       2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) 
                             เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำ
                             คำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
                       2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถ
                             ที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์
                             ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที 
                             หรือ 10 นาที

          3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
                       3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) 
                             เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ 
                             ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์
                             ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่ม
                            ได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า 
                             เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศ
                             ทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
                       3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) 
                             หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้
                             เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความ
                             ยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน
          4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน 
              สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิด
              ละเอียดลออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรก
              ให้สมบูรณ์ขึ้น

ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
        คือ เป็นความสามารถในการคิด จินตนาการ ความคิดแปลกใหม่โดยอาศัยความคิด
และประสบการณ์เดิมแล้วนำมาปรับปรุง มีการคิดได้อย่างอิสระคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน 
จะแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวและออกแบบท่าทางต่างๆขึ้นมาตามความคิดของเด็กเอง

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
         อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการ
ของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็น
สมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
    
        Torrance  เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ 
ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก

         กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริ ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย  
กิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ 
และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร

ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว 
จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง

ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิด
และตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3

ขั้นที่ 4 การแก้ไขปัญหา ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3

ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ขั้นนี้เป็นการยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์
เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือ
การค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิด
แนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent
    
        Torrance ได้กําหนดขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้
ขั้นเริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจริง เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ

ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงัก
ไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก

ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับ
ความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว

ขั้นปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
หรือต่อเติมเสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป

ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

        ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมี
การแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น เช่น เด็กฟังเพลงเด็กมีความรู้สึกที่ดี
ต่อเพลงๆนั้น เด็กก็จะเคลื่อนไหวและแสดงออกมาตามบทเพลงที่เด็กได้ฟัง


กลุ่มที่ 4
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านสังคมของ อิริคสัน


      อิริสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้น
ความสําคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการ
พัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า
เห็นความสําคัญของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น

      อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ  ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก
ขั้นที่ ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง   
           อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัย ที่เริ่มเดินได้
ขั้นที่ การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี

     ทฤษฎีของอิริสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
     ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้
และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ
ในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้

ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา
         อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิด
การเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

         การเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) 
2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) 
3. กระบวนการแสดงออก (Motor reproduction Process)
4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) 
      
         ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
         คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน 
สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ แล้วเมื่อเด็กจะสังเกต 
สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบ" 
จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ



วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 11:30 - 14:30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมแรก คือการบริหารร่างกาย เพื่อที่จะให้ร่างกายของเรามีความพร้อมในการทำกิจกรรม
หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


เมื่อเราบริหารร่างกายกันเสร็จแล้ว ครูก็ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้คิดว่าบริหารร่างกาย
คนละ 1 ท่า พร้อมออกมานำเพื่อนๆในกลุ่ม ทีละกลุ่ม










ต่อมา คือกิจกรรมสุดท้ายของการเรียน ครูให้ออกมาทดสอบสอนการบริหารร่างกาย
ให้กับเด็กปฐมวัย โดยการแสดงบทบาทสมมติว่าตัวเราเป็นคุณครู แล้วเรา
จะสอนเด็กท่าไหนบ้าง ครูสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน การสอนเด็กปฐมวัย
เมื่อหันหน้าให้กับเด็ก ให้เราคิดเสมอว่า มือขวาของเรา คือ มือซ้ายของเด็ก
ส่วนมือซ้ายของเรา คือ มือขวาของเด็ก

หลังจากที่ครูสาธิตเสร็จแล้ว ให้นักศึกษาออกมาสอนทีละคน





การนำความรู้ไปประยุต์ใช้
     การทำกิจกรรมในวันนี้ เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และอนาคตได้
นอกจากนี้ การบริหารร่างกายทุกๆ วัน ยังสามารถช่วยให้เรามีร่างกายที่แข็งอีกด้วย



ประเมินตนเอง
     มีความตั้งใจทำกิจกรรมกับครูผู้สอน และเพื่อนๆทุกคน สนุกสนาน และเหนื่อย 555


ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกคน สนุกเฮฮา เป็นกันเอง และสร้างรอยยิ้มให้ครูและเพื่อนเสมอ


ประเมินอาจารย์
     อาจารย์น่ารัก เตรียมเนื้อหาการสอนได้ครบถ้วน ตรงต่อเวลา ให้ความรู้ ให้ข้อคิด และให้
คำแนะนำกับนักศึกษาเสมอ